เราทุกคนพูดได้ แต่น้อยคนนักจะพูด “เป็น”คำว่า “เป็น” ในที่นี้หมายถึง “เป็นประโยชน์ต่อตัวเราและตัวคนฟัง” เพราะมีคนจำนวนมากที่ “สักแต่พูด” อย่างที่ปากอยากพูด
โดยลืมใช้ “สมองในการคิดถึงใจคนฟัง” คือไม่คิดถึงใจคนฟังว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรกับสิ่งที่ตนพดู เพราะไม่คิดนี่แหละถึงทำให้ตกที่นั่งลำบากบ่อยๆ ถูกเกลียด ถูกเหม็นขี้หน้า
ถูกมองอย่างรังเกียจ ใครก็ไม่อยากอยู่ใกล้ ไม่แม้กระทั่งอยากจะพูดคุยด้วยเลย กลายเป็นคนที่เมื่อใครเห็นก็มีแต่ส่ายหน้าหนีกันไปหมด หนักขึ้นไปอีกก็อาจจะถูกแอนตี้จากกลุ่มคนที่อยู่รอบข้าง
ทีนีแหละจับไมค์นึ้ มาพูด ก็คงไม่มีใครได้ยิน ตะโกนสุดเสียงก็มีแต่คนเมินหน้าหนี เพราะเขาไม่ใส่ใจให้เสียสุขภาพจิต และไม่เห็นความสำคัญอีกต่อไปแล้วคุณล่ะ เป็นหนึ่งคนที่มักจะพูดไม่ค่อย “เป็น”
หรือเปล่าคำพูด ของคุณมีจุดบกพร่องที่ทำให้คนฟังขมวดคิ้วบ่อยๆ ไหม หรือใครๆ มักจะหันหน้าหนีเวลาที่คุณกำลังอ้าปากพูด พูดอะไรออกมาก็ไม่มีใครสนใจฟัง จนทำให้คุณรู้สึกท้อแท้ใจ
และโดดเดี่ยวอย่างมากและถ้าคุณอยากให้คำพูดของคุถณสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นดังใจที่คุณต้องการ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ชื่อว่า “คน” ถึงเวลาแล้วที่คุณต้อง “เรียนรู้” ที่จะพูดอย่าง “สร้างสรรค์”
เพื่อให้คำพูดของคุณมีพลัง ดึงดูดผู้คนให้หันสนใจและคล้อยตามคำพูดของคุณ ตั้งแต่ต้นจนจบด้วยความรู้สึกประทับใจและไม่อยากจากลาไปไหนเลย
ข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ร้อยคำพูดให้เขาประทับใจและทำให้เราประสบความสำเร็จ
หมวด : จิตวิทยาทั่วไป
ผู้แต่ง : ปรีดา อริยมิตร
เนื้อหาย่อ :