ข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

[title]

Elementary Student’s English Workbook
หมวด : กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สำนักพิมพ์ : Chomphunut Smith
ผู้แต่ง : Chomphunut Smith
ยอดคงเหลือ : 2
ตัวอย่าง
[field_borrow_button]


เนื้อหาย่อ :

หนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพื่อให้ครูที่สอนภาษาอังกฤษได้ประหยัดเวลาในการเตรียมใบงานหรือเนื้อหาในการสอนการสนทนา โดยตัวผู้เขียนเองพยายามทำให้เนื้อหาของแต่ละบทนั้นเข้าใจง่ายและครูใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้าสอนน้อยลง  ในแต่ละ Lesson นั้นจะประกอบไปด้วย 2 units และแต่ละ  unit นั้นประกอบไปด้วย:  
 
 
1. Vocabulary  ส่วนนี้ครูสามารถใช้เป็นกิจกรรม warm up สัก 10 นาทีได้ โดยให้นักเรียนคิดเองก่อนว่ารู้จักศัพท์คำไหนบ้างและที่สำคัญหากเป็นไปได้ลองอธิบายความหมายเป็นภาษาอังกฤษดู หลังจากนั้นก็ปรึกษาความหมายด้วยกันทั้งห้อง โดยอาจจะลองพยายามใช้  English- English dictionary ดู นอกจากนี้ในส่วน vocabulary ยังมีช่อง pronunciation ที่ช่วยในเรื่องการออกเสียง ซึ่งครูอาจจะสอนเรื่อง International Phonetic Alphabet (IPA) ก่อนเริ่มเรียนบทแรกได้ หรือหากคิดว่าการสอน IPA เป็นเรื่องที่ยุ่งยากครูก็อาจจะใช้วิธีการเปิดการออกเสียงคำๆ นั้นจาก Online dictionary โดยตัวผู้เขียนนิยมใช้ Cambridge Dictionary (https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/) พูดง่ายๆ คือครูจะใช้วิธีการสอนแบบไหนก็ได้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถออกเสียงคำนั้นๆ ได้ชัดเจนและถูกต้อง  
 
2. Real world ส่วนนี้เป็นบทสนทนาสมมุติเหตุการณ์ โดยผู้เขียนพยายามเลือกใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด ซึ่งผู้สอนอาจจะยกตัวอย่างบางประโยคที่คิดว่าน่าสนใจใน Real world มาอธิบายเพิ่มเติมได้ 
 
3. Sentence format ส่วนนี้เป็นการเอาประโยคใน Real world มาลองเปลี่ยนคำดู ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าวิธีการลองเอาประโยคมาแทนด้วยคำศัพท์ตัวอืนๆู ลงไป เป็นวิธีการสอนการสนทนาที่น่าสนใจเพราะผู้เรียนสามารถนำประโยคนั้นๆไปใช้สื่อสารได้โดยไม่ต้องกังวลกับหลักไวยากรณ์และโครงสร้างประโยค นอกจากนี้ก็เป็นการทบทวนคำศัพท์ที่ตนเองรู้และเข้าใจว่าคำๆ นั้นนำมาใช้ในประโยคและบริบทแบบไหนได้บ้าง 
 
4. Grammar การสนทนาอย่างไรก็ต้องการไวยากรณ์ เราจะไม่สอนไวยากรณ์ไม่ได้ แต่ครูต้องเข้าใจว่าไวยากรณ์ในการพูดไม่ซับซ้อนและลึกซึ่งเหมือนไวยากรณ์ในการเขียน ดังนั้นครูไม่จำเป็นที่จะต้องอัดไวยากรณ์มาก ผู้เขียนได้พยายามทำส่วนของไวยากรณ์ให้น้อย ง่าย แต่จำเป็นสำหรับผู้เรียน  
 
5. Practice ผู้เขียนได้แทรกแบบฝึกหัดเล็กๆ ไปด้วย โดยครูอาจจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้แบบฝึกหัดให้เหมาะกับพื้นฐาน อุปนิสัย และความสนใจของนักเรียน เช่น หากแบบฝึกหัดให้นักเรียนลองแต่งบทสนทนาเองและนักเรียนอาจจะไม่สามารถทำได้ ครูก็อาจจะทำเพียงให้นักเรียนฝึกพูดจากบทสนทนาตัวอย่างได้